
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559
เครื่องแต่งกาย สมัยธนบุรี

เครื่องเเต่งกาย สมัยรัตนโกสินทร์

หญิง
ผม ไว้ผมปีกประบ่ากันไรผมวงหน้าโค้ง ส่วนบนกระหม่อมกันไรผมเป็นหย่อมวงกลม แบ่งผมออกดูคล้ายปีกนก จึงเรียกผมปีก แต่ไม่ยาวเท่าสมัยอยุธยา ปล่อยจอน ข้างหูยาวแล้ว ยกขึ้น ทัดไว้ที่หู เรียกว่า “จอนหู” ส่วนเด็ก ๆ นิยมไว้ผมจุก
การแต่งกาย นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยา ชาวบ้านนุ่งผ้าถุง หรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก และห่มสไบ เฉียงทับ
ชาย
ผม ยังคงไว้แบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ ทรงมหาดไทย ชาวบ้านเรียกว่า “ทรงหลักแจว”
การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อเป็นแบบเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก แขนยาว กระดุม 5 เม็ด ชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ หรือพาดผ้า
เครื่องเเต่งกาย สมัยโบราณ
ผู้หญิงไทยสมัยโบราณที่เห็นในภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่เน้นความสมจริงจะเปลือยอกกัน ในความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์เขาเปลือยกัน อาจจะมีผ้าพลาดไหลมาบังอกบ้าง แต่ก็เห็นอยู่ดี และทั้งที่ยังสาวๆกันอยู่ (ไม่เกี่ยวกับความสวย ที่เห็นในภาพยนตร์อยู่ที่ตัวนักแสดง) สมัยก่อนเขาไม่อายกันหรอ จะบอกว่าใครๆเขาก็เปลือยก็เลยไม่อาย อากาศร้อน เปลือยเถอะจะได้สบาย ถ้างั้นทำไมไม่เปลือยทั้งตัวจะได้สบายยิ่งกว่า เพราะยังไงร่างกายผู้หญิงท่อนบนก็ไม่เหมือนผู้ชายอยู่แล้ว จะเปลือยข้างล่างที่ไม่เหมือนกันอีกก็ไม่น่าจะอายเหมือนกัน แต่พอเป็นหญิงมีฐานะจนถึงเจ้าในวังไม่เห็นจะเปลือย ในประวัติศาสตร์เขาไม่เปลือยหรือเพราะคนแสดงบทคนระดับนี้เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงเขาเลยไม่ยอมเปลือยกัน และผู้ชายสมัยนั้นเห็นผู้หญิงเปลือยแล้วไม่เกิดอารมณ์กันหรอ
เครื่องเเต่งกาย สมัยอยุธยา

ราวสมัย พ.ศ. 1893 สมัยพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านปลดกางเกงหรือ สนับเพลาออกบ้างแล้ว คงใช้เฉพาะขุนนางข้าราชสำนัก แบบขัดเขมรจึงถูกปล่อยให้ยาวลงมาถึง ใต้เข่าเป็น “นุ่งโจงกระเบน” เสื้อคอกลมแขนกรอมศอก สตรีนุ่งผ้าและผ้ายกห่มสไบเฉียง สวมเสื้อ บ้างโดยมากเป็นแขนกระบอก
เครื่องแต่งกายสมัย สุโขทัย
เมื่อครั้งที่”พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ทรงสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้น เป็นราชธานี แห่งอาณาจักร สุโขทัย เมื่อ พ.ศ.1762 ได้มีหัวเมืองต่างๆที่มีคนไทยปกครองก็หันมายอมรับเอากรุงสุโขทัยเป็น ศูนย์กลางอำนาจ ทำให้มีอาณาเขตแผ่กว้างออกไป มีความเจริญก้าวหน้าในทุกด้านทั้ง ศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการ(โอม รัชเวทย์, 2543:44) การแต่งกายของชาวสุโขทัยอาจเทียบเคียง ได้จากภาพเขียนลายเส้นบนแผ่นศิลาจากวัดศรีชุม ภาพลายเส้นบนรอยพระพุทธบาทที่ทำด้วย สำริด รูปหล่อสำริดและตุ๊กตาสังคโลก (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 102-103) ที่แสดง ให้เห็นทั้งทรงผม เสื้อ ผ้าห่ม เครื่องประดับและเครื่องหอม
สมัย สุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด
สมัยปัจจุบัน

สมัยปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของอารยธรรมหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่แต่ละอารยธรรมจะมีเทคโยโลยีเข้ามาใช้อย่างแพร่หลาย และมีการตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี
นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดช่วงเวลาที่เป็น "สมัยปัจจุบัน" ของสากลโลกไว้ให้ตรงกับ ค.ศ. 1945 จนถึงปัจจุบันนี้ โดยเริ่มนับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา
ในสมัยใหม่ เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างเทคโนโลยี และการค้นพบทฤษฎีความรู้ต่างๆ มากมาย แต่ทว่า การใช้เทคโนโลยีอย่างขาดจิตสำนึกทำให้เทคโนโลยีถูกใช้ไปในทางไม่ดีในช่วงปลายของสมัยใหม่ เกิดการแข่งขันสะสมและประดิษฐ์อาวุธอันร้ายแรงของประเทศต่างๆ จนนำไปสู่สงครามโลกถึง 2 ครั้ง ในเวลาเพียง 31 ปี มีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 100 ล้านคน เป็นความสูญเสียของมนุษย์ ที่เกิดจากสิ่งประดิษฐ์และการกระทำของมนุษย์ด้วยกันเอง
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
สมัย หริภุญชัย

สมัยหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ )
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัย ยุคโลหะ
ยุคโลหะ (อังกฤษ: Metal Age) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000-900 ปีก่อนพุทธศักราช ยุคที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่โลหะมาจากธรรมชาตินำมาใช้เพื่อประโยชน์ เช่น ทองแดง, สำริด และเหล็ก นำมาหล่อหรือขึ้นเป็นมีด, หอก และดาบ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ หรือมาประกอบเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ มนุษย์สมัยนี้พัฒนาการเป็นอยู่อาศัยและการเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างบ้านให้ใต้ถุนบ้านสูง[1][2] มีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์[3] โดยยุคโลหะ แบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อยคือ ยุคทองแดงปนหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก
สมัย ประวัติศาสตร์
สมัยประวัติศาสตร์
1.ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ(3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 476)เริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบริเวณดินแดนเมโสโปเตเมียแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสและดินแดนอียิปต์แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ที่ชาวเมโสโปเตเมียและชาวอียิปต์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรได้เมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชจากนั้นอิทธิ พลของความเจริญของสองอารยธรรมก็ได้แพร่หลายไปยังทางใต้ของยุโรปสู่เกาะครีตต่อมาชาวกรีกได้รับเอาความเจริญจากเกาะครีตและความเจริญของอียิปต์มาสร้างสมเป็นอารยธรรมกรีกขึ้นและเมื่อชาวโรมันในแหลมอิตาลียึดครองกรีกได้ชาวโรมันก็นำอารยธรรมกรีกกลับไปยังโรมและสร้างสมอารยธรรมโรมันขึ้นต่อมาเมื่อชาวโรมันสถาปนาจักรวรรดิโรมันพร้อมกับขยายอาณาเขตของตนไปอย่างกว้างขวางอารยธรรมโรมันจึงแพร่ขยายออกไปจนกระทั่งจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงเมื่อพวกชนเผ่าเยอรมันเข้ายึดกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 476 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตกจึงสิ้นสุดลง
สมัย ยุคหินกลาง
ยุคหินกลาง (อังกฤษ: Mesolithic Period หรือ Middle Stone Age) เป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินเก่ากับยุคหินใหม่ ในช่วงเวลาประมาณ 5,000 - 10,000 ปีที่แล้ว เป็นเวลาที่มนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการเลี้ยงสัตว์และเริ่มมีการเพาะปลูกพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยที่จีนมีการสร้างกำแพงหิน ขวานหิน ขุดอุโมงหิน
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัย ก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร การศึกษาค้นคว้าจะใช้หลักฐานโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ภาพวาดตามฝาผนังถ้ำ ฯลฯ สมัยก่อนประวัติศาสตร์จะแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหินและยุคโลหะ โดยแบ่งตามระดับความเจริญก้าวหน้าในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
สมัยธนบุรี
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัยอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา
(พ.ศ. 1893 - 2310)
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ในราวปี พ.ศ. 1893 เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ จึงแข็งข้อ เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่ พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง และตอนล่าง ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่ พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนาว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2325
สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี มีดังนี้ คือ
1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบทั้ง 2 ข้าง (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม)
2. ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
3. พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
4. ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)