ยุคโลหะ (อังกฤษ: Metal Age) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000-900 ปีก่อนพุทธศักราช ยุคที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่โลหะมาจากธรรมชาตินำมาใช้เพื่อประโยชน์ เช่น ทองแดง, สำริด และเหล็ก นำมาหล่อหรือขึ้นเป็นมีด, หอก และดาบ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ หรือมาประกอบเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ มนุษย์สมัยนี้พัฒนาการเป็นอยู่อาศัยและการเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างบ้านให้ใต้ถุนบ้านสูง[1][2] มีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์[3] โดยยุคโลหะ แบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อยคือ ยุคทองแดงปนหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัย ยุคโลหะ
ยุคโลหะ (อังกฤษ: Metal Age) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000-900 ปีก่อนพุทธศักราช ยุคที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่โลหะมาจากธรรมชาตินำมาใช้เพื่อประโยชน์ เช่น ทองแดง, สำริด และเหล็ก นำมาหล่อหรือขึ้นเป็นมีด, หอก และดาบ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ หรือมาประกอบเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ มนุษย์สมัยนี้พัฒนาการเป็นอยู่อาศัยและการเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างบ้านให้ใต้ถุนบ้านสูง[1][2] มีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์[3] โดยยุคโลหะ แบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อยคือ ยุคทองแดงปนหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก
สมัย ประวัติศาสตร์
สมัยประวัติศาสตร์
1.ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ(3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 476)เริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบริเวณดินแดนเมโสโปเตเมียแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสและดินแดนอียิปต์แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ที่ชาวเมโสโปเตเมียและชาวอียิปต์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรได้เมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชจากนั้นอิทธิ พลของความเจริญของสองอารยธรรมก็ได้แพร่หลายไปยังทางใต้ของยุโรปสู่เกาะครีตต่อมาชาวกรีกได้รับเอาความเจริญจากเกาะครีตและความเจริญของอียิปต์มาสร้างสมเป็นอารยธรรมกรีกขึ้นและเมื่อชาวโรมันในแหลมอิตาลียึดครองกรีกได้ชาวโรมันก็นำอารยธรรมกรีกกลับไปยังโรมและสร้างสมอารยธรรมโรมันขึ้นต่อมาเมื่อชาวโรมันสถาปนาจักรวรรดิโรมันพร้อมกับขยายอาณาเขตของตนไปอย่างกว้างขวางอารยธรรมโรมันจึงแพร่ขยายออกไปจนกระทั่งจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงเมื่อพวกชนเผ่าเยอรมันเข้ายึดกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 476 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตกจึงสิ้นสุดลง
สมัย ยุคหินกลาง
ยุคหินกลาง (อังกฤษ: Mesolithic Period หรือ Middle Stone Age) เป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินเก่ากับยุคหินใหม่ ในช่วงเวลาประมาณ 5,000 - 10,000 ปีที่แล้ว เป็นเวลาที่มนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการเลี้ยงสัตว์และเริ่มมีการเพาะปลูกพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยที่จีนมีการสร้างกำแพงหิน ขวานหิน ขุดอุโมงหิน
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัย ก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร การศึกษาค้นคว้าจะใช้หลักฐานโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ภาพวาดตามฝาผนังถ้ำ ฯลฯ สมัยก่อนประวัติศาสตร์จะแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหินและยุคโลหะ โดยแบ่งตามระดับความเจริญก้าวหน้าในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
สมัยธนบุรี
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัยอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา
(พ.ศ. 1893 - 2310)
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ในราวปี พ.ศ. 1893 เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ จึงแข็งข้อ เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่ พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง และตอนล่าง ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่ พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนาว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2325
สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี มีดังนี้ คือ
1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบทั้ง 2 ข้าง (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม)
2. ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
3. พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
4. ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)